Gzone แฟนตัวยงคนรักโคนัน

โพแทสเซียมไซยาไนด์ ยาพิษร้ายแรงชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน 

โพแทสเซียมไซยาไนด์ ยาพิษร้ายแรงชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน

โพแทสเซียมไซยาไนด์ ยาพิษร้ายแรงชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน

สวัสดีค่ะเพื่อนๆชาวจีโซนแฟนตัวยงคนรักโคนัน คาดว่าแฟนการ์ตูนยอดนักสืบจิ๋วโคนันทุกคนที่ได้ยินข่าวที่กำลังเป็นที่โด่งดังในตอนนี้ เกี่ยวกับเรื่องการใช้ไซยาไนด์ในการฆาตกรรม ก็คงจะนึกถึงการ์ตูนโคนันกันใช่ไหมคะ และด้วยความที่ว่าข่าวนี้กำลังเป็นข่าวที่โด่งดัง และไซยาไนด์ก็เป็นสารพิษที่ทุกคนควรจะรู้จักข้อมูลและวิธีป้องกันตัวเองเอาไว้ ดังนั้นคลิปนี้  Admin  จะมาพาเพื่อนๆมารู้จักกับยาพิษตัวนี้และวิธีป้องกันตัวเองและคนรอบข้าง เพื่อลดความเสียหายที่ไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ค่ะ

ไซยาไนด์คืออะไร

ไซยาไนด์เป็นยาพิษอีกชนิดหนึ่งที่ได้ยินบ่อยมากในยอดนักสืบจิ๋วโคนันหลายครั้งเราจะคุ้นหูกันว่าเป็นยาพิษที่มักจะใช้เพื่อการฆ่าตัวตายหรือการฆาตกรรม โดยโพแทสเซียมไซยาไนด์นั้นจะใช้ในในการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทอง การสังเคราะห์ทางอินทรีย์และการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า บางครั้งก็ใช้ในการสกัดแร่ทองและเงินออกจากกัน ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสิ่งย้อม ใช้เป็นสารกำจัดแมลง

และพืชผักที่เรากินบางชนิดมันก็มีไซยาไนด์อยู่ด้วยแต่อาจจะมีปริมาณน้อย แต่ในกรณีที่รับประทานมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน โดย ผักผลไม้ที่มีไซยาไนด์ได้แก่

  1. มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง
  2. อัลมอนต์ ,แอปเปิล, ลูกแพร์, เชอร์รี่, แอปริคอต ,พลัม, พีช ,มะละกอ ส่วนใหญ่จะพบในเมล็ด

โดยไซยาไนด์มีหลายรูปแบบมากๆ ทั้งของแข็ง ของเหลว และเป็นแก็ส

ถือว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุอันตราย พ.ศ 2535 โดยไซยาไนด์จะมีลักษณะเป็นเกล็ดของผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ดีมาก  มีกลิ่นคล้ายอัลมอนด์แต่ก็เป็นกลิ่นที่จางมากยาพิษชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้หลายทาง เช่น

โดยผลกระทบจากการได้รับ ไซยาไนด์ อาจแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

1.การสูดดมเอาก๊าซไซยาไนด์เข้าไป

2.การกินอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ผสมไซยาไนด์ หรือแม้แต่การกินไซยาไนด์เข้าไป ในกรณีที่กินเข้าไปในขณะท้องว่าง ก็จะออกฤิทธ์เร็ว เป็นหน่วยนาที แต่หากในกระเพาะของเรามีอาหารอยู่ก่อนแล้ว ก็อาจจะยืดเวลาของการออกฤิทธิ์นานขึ้นไปอีก เป็นหน่วยชั่วโมงหรือหลายชั่วโมงขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษที่ได้รับและปริมาณอาหารที่เรามีอยู่ในกระเพาะ

ด้วยความที่ ไซยาไนด์ สามารเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี ในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการ เช่น ระคายเคืองบริเวณที่สัมผัสอย่างผิวหนังหรือดวงตา ร่างกายอ่อนแรง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจติดขัด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น โดยความรุนแรงของอาการนั้นอาจขึ้นอยู่กับชนิดของ ไซยาไนด์ ปริมาณ และระยะเวลาในการได้รับ

อาการเมื่อได้รับไซยาไนด์เข้าไป

หากได้รับ ไซยาไนด์ แบบเฉียบพลัน เช่นการกิน โดนวางยา  โดยอาการเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับสารพิษเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการ ได้แก่ กล้ามเนื้อล้า แขนขารู้สึกหนัก หายใจติดขัด หายใจลำบาก ปวดหัว รู้สึกมึนๆ วิงเวียน คลื่นไส้ เลือดไหลเวียนผิดปกติ  อาเจียน ลมหายใจมีกลิ่นอัลมอนต์จางๆ รู้สึกระคายเคืองหรือคันๆที่จมูก คอปาก ไปจนถึง คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง หายใจลำบากถึงขนาดต้องอ้าปากพะงาบๆชักดิ้นชักงอเพื่องับอากาศ หัวใจหยุดเต้น สมองบวม ชัก หมดสติและเสียชีวิต เป็นต้น

หากได้รับไซยาไนด์แบบเรื้อรัง เช่น การได้รับ ไซยาไนด์ปริมาณเล็กน้อยแต่รับแบบต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ในเบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง และอาจมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า เป็นต้น นอกจากนี้ หากไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน อาจทำให้หัวใจเต้นช้าหรือเต้นผิดปกติ ผิวหนังบริเวณใบหน้าและแขนขากลายเป็นสีม่วง โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

จะทำยังไงเมื่อสัมผัสไซยาไนด์

ไซยาไนด์เป็นสารเคมีอันตราย หากสัมผัสกับสารพิษชนิดนี้ควรรีบลดปริมาณสารดังกล่าวให้ได้มากที่สุดอย่างรวดเร็ว โดยวิธีดังต่อไปนี้

1.การสัมผัสทางผิวหนัง

หากร่างกายของเราสัมผัสกับ ไซยาไนด์ให้รีบถอดเสื้อผ้าที่อาจจะปนเปื้อนออก แต่ระวังอย่าถอดแบบที่เราถอดกันปกติ เช่น ปกติที่เราถอดเสื้อผ้า เราก็จะเอามือจับชายเสื้อและถอดผ่านหัวไปใช่ไหมคะ แต่ถ้าเราคิดว่าเราอาจจะสัมผัส ไซยาไนด์ให้เราทำการถอดเสื้อผ้าด้วยการใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้น ๆ และนำออกจากลำตัว โดยวิธีนี้จะช่วยให้เสื้อผ้าที่ปนเปื้อน ไซยาไนด์ ไม่ไปสัมผัสกับผิวหนังส่วนอื่น เช่น ศีรษะ และไม่ควรให้ผู้อื่นสัมผัสร่างกายหรือเสื้อผ้าโดยตรงเพราะอาจได้รับพิษจากไซยาไนด์ไปด้วย เมื่อถอดเสื้อผ้าออกแล้วจากนั้นจึงทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่เพื่อลดปริมาณสารพิษให้ได้มากที่สุด ก่อนรีบนำส่งโรงพยาบาล

2.การสูดดม

 หากสูดดมอากาศที่มี ไซยาไนด์ ปนเปื้อนควรรีบออกจากพื้นที่บริเวณนั้น หากไม่สามารถออกจากสถานที่ได้ควรก้มต่ำลงบนพื้น ในกรณีที่หายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องทำ CPR เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ห้ามใช้วิธีเป่าปากหรือวิธีผายปอดเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับพิษ

3.การรับประทาน

หากรับประทานไซยาไนด์เข้าไปต้องรีบส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการล้างท้องโดยเร็วที่สุด ในกรณีที่ผู้ที่ได้รับสารพิษหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องทำ CPR เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ห้ามใช้วิธีเป่าปากหรือวิธีผายปอดเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับพิษ และผู้ที่ทำการช่วยเหลือก็ต้องระมัดระวังตัวเองเป็นอย่างมาก อย่าสูดลมหายใจของผู้ที่ได้รับสารเข้าไปเป็นอันขาด

4.การสัมผัสทางดวงตา

ควรถอดแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ออก จากนั้นให้ใช้น้ำสะอาดล้างตาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 นาที และไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจ

สิ่งของบางอย่างที่ปนเปื้อน ไซยาไนด์ อาจนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ต้องทำความสะอาดเพื่อกำจัดสารพิษอย่างถูกวิธีก่อนนำกลับมาใช้ สำหรับคอนแทคเลนส์ หรือเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนควรเก็บใส่ถุงพลาสติกที่มิดชิดและกำจัดทิ้งอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

Exit mobile version